Search
Close this search box.

สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬาผนึกกำลัง สสส. และ สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทยฯ ส่งเสริมศักยภาพนักกีฬาไทยปลอดการใช้สารกระตุ้น

              คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล นายกสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกรรมการโอลิมปิกสากล กล่าวถึงการจัดงานในวันนี้ว่า เป็นครั้งแรกที่หน่วยงานทั้งสองได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการและกิจกรรม กับทางสมาคมกีฬาแบดมินตันฯ ที่พิเศษกว่านั้นคือ การประกาศให้นักกีฬาระดับโลก ให้หน่วยงานกีฬาระดับนานาชาติ ได้แก่ Badminton World Federation หรือ BWF ได้ทราบว่า ประเทศไทยมี ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา “สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬามหาวิทยาลัยมหิดล จัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามมาตรฐานสากล โดยการเสนอของการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นการส่งเสริมให้การกีฬาของประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ นับเป็นการลงทุนลงแรงครั้งสำคัญของวงการกีฬาของประเทศไทย ที่ไม่ว่าในระยะสั้นหรือระยะยาว เราจะมีนักกีฬาระดับพรีเมี่ยมที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาทุกประเภทด้วยความแข็งแกร่งของร่างกายและจิตใจโดยเนื้อแท้ ยกระดับมาตรฐานการกีฬาของไทยอย่างมีมาตรฐานสากลจนอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก

              นายกสมาคมกีฬาแบดมินตันฯ กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณ สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นอย่างมากที่เห็นคุณค่าการสร้างมาตรฐานกีฬาของไทย ที่สำคัญที่สุด คือ การให้เกียรติกับสมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มาจัดนิทรรศการ “Natural is The BEST เพื่อสุขภาวะที่ดีของสังคม” ในการแข่งขันแบดมินตัน “ปริ้นเซส สิริวัณณวรี ไทยแลนด์ มาสเตอร์ส 2024″ (Princess Sirivannavari Thailand Masters 2024) ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 4 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารนิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

              ด้าน รองศาสตราจารย์ ดร.สิริพงษ์ ฐิตะมาดี ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา กล่าวในการเปิดนิทรรศการความร่วมมือระหว่าง สถาบันฯ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. และ สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ว่า เป็นโอกาสอันที่ที่จะประกาศให้คนไทยได้รู้จักกับการทำงานของสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬา โดยก่อนหน้านี้ ประเทศไทยคุ้นเคยกับหน่วยตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา หรือ ที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “ศูนย์โด๊ป”  หรือ ชื่อเป็นทางการว่า “ศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา”  ซึ่งจัดตั้งขึ้นในประเทศไทยตามมาตรฐานสากล โดยการเสนอของการกีฬาแห่งประเทศไทยเพื่อเป็นการส่งเสริมให้การกีฬาของประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ บัดนี้ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น “สถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์และตรวจสารในการกีฬาตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 172ง ลงวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 เพื่อสนับสนุนพันธกิจของมหาวิทยาลัยมหิดล ทางด้านบริการวิชาการ การวิจัย และการศึกษา ตั้งเป้าหมายเป็นห้องปฏิบัติการมาตรฐานสากล 1 ใน 30 แห่งทั่วโลก และเป็นห้องปฏิบัติการเดียวในเอเชียอาคเนย์

              ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์การวิเคราะห์ฯ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สถาบันฯ ที่ทำการตรวจสอบโดยศูนย์ตรวจสอบสารต้องห้ามในนักกีฬา ได้ส่งผลรายงานการตรวจนักกีฬาหลากหลายประเภท ที่การกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ สมาคมกีฬาต่างๆ ส่งตัวอย่างมาให้ห้องปฏิบัติการได้ทำการตรวจสอบ ซึ่งผลการตรวจสอบที่ออกมาแต่ละครั้ง สร้างความเป็นธรรมให้กับทั้งวงการกีฬาประเภทนั้นๆ และตัวนักกีฬาเอง และในโอกาสนี้ สถาบันได้รับเกียรติจากสององค์กรหลักของประเทศไทย ได้แก่ สมาคมกีฬาแบดมินตันแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส.

              ด้านนายแพทย์พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า  สสส. มียุทธศาสตร์ไตรพลัง คือ ใช้พลังนโยบาย พลังปัญญา และพลังสังคม เชื่อมโยงภาคีหลักที่เกี่ยวข้องรณรงค์สร้างกระแสสังคม สร้างการมีส่วนร่วมกับสังคมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติด เป้าหมายของ สสส. คือ ป้องกันการเกิดปัจจัยเสี่ยงทางสังคมด้านการป้องกันการใช้สารเสพติดและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงการสร้างสุขภาวะที่ดีให้กับสังคม โดยร่วมกันจัดชุดนิทรรศการเคลื่อนที่ขนาดย่อม ให้ความรู้เกี่ยวกับการหลีกเลี่ยง และไม่เสพสารกระตุ้นที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกาย และความได้เปรียบเสียเปรียบในการแข่งขันกีฬา ให้แก่นักกีฬา เด็ก เยาวชน และประชาชนทั่วไป

คลิปวิดิโอจากสำนักข่าวไทยพีบีเอส | ข่าวดึก – ข่าวดึก | Thai PBS รายการไทยพีบีเอส

ข้อตกลง หลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียน / แนะนำติชม

  1. ห้ามพาดพิงหรือเสนอแนะเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ พาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์
  2. ห้ามมีเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย คำด่า ข้อความลามกอนาจาร ข้อความที่ขัดต่อกฏหมาย หรือ ศีลธรรมอันดีงาม
  3. ห้ามพาดพิง หรือมีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหาย และเสื่อมเสียต่อบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร
  4. กรุณากรอกข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบข้อเท็จจริง และทางสถาบันฯ/มหาวิทยาลัย ใช้ข้อมูลนี้ในการติดต่อท่าน
  5. หากท่านร้องเรียนผ่านช่องทางนี้ ทางสถาบันฯ/มหาวิทยาลัย จะดำเนินการตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวทางการจัดการข้อร้องเรียน พ.ศ 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

คำแนะนำ

การติดต่อสอบถาม / ชมเชย / เสนอแนะ / ร้องเรียน ควรมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนด ดังนี้

  1. ควรป้อนข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ – สกุล ที่อยู่ โทรศัพท์ และ อีเมล (e-mail ) ของผู้ส่งที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และ ยืนยันข้อมูลการร้องเรียน หรือ ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ชัดเจน สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพื่อรายงานผลกลับไปยังท่านต่อไป
  2. สำหรับข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างที่สุด
  3. กรณีที่ไม่เปิดเผยชื่อ – สกุลจริง ถือว่าเป็น บัตรสนเท่ห์” ซึ่งหากไม่ระบุพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงได้ทางสถาบันฯ/มหาวิทยาลัยอาจไม่รับ หรือ ยกเรื่องร้องเรียนดังกล่าวขึ้นพิจารณาได้

การพิจารณาในการกำหนดชั้นความลับและคุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้อง

การพิจารณาในการกำหนดชั้นความลับ และคุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น จะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544  และการส่งเรื่องให้หน่วยงานพิจารณานั้น ผู้ให้ข้อมูล ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง อาจจะได้รับความเดือดร้อน เช่น ข้อร้องเรียนกล่าวโทษ ในเบื้องต้นให้ถือว่าเป็นความลับทางราชการ การแจ้งเบาะแสผู้มีอิทธิพล ต้องปกปิดชื่อและที่อยู่ผู้ร้อง หากไม่ปกปิดชื่อ ที่อยู่ ผู้ร้องจะต้องแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และให้ความคุ้มครองแก่ผู้ร้องด้วย

ข้อตกลง หลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียน / แนะนำติชม

  1. ห้ามพาดพิงหรือเสนอแนะเนื้อหาอันเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ หรือ พาดพิงสถาบันพระมหากษัตริย์
  2. ห้ามมีเนื้อหาที่ส่อไปในทางหยาบคาย คำด่า ข้อความลามกอนาจาร ข้อความที่ขัดต่อกฏหมาย หรือ ศีลธรรมอันดีงาม
  3. ห้ามพาดพิง หรือมีเจตนาก่อให้เกิดความเสียหาย และเสื่อมเสียต่อบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร
  4. กรุณากรอกข้อมูลตามความเป็นจริง เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตรวจสอบข้อเท็จจริง และทางสถาบันฯ/มหาวิทยาลัย ใช้ข้อมูลนี้ในการติดต่อท่าน
  5. หากท่านร้องเรียนผ่านช่องทางนี้ ทางสถาบันฯ/มหาวิทยาลัย จะดำเนินการตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวทางการจัดการข้อร้องเรียน พ.ศ 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

คำแนะนำ

การติดต่อสอบถาม / ชมเชย / เสนอแนะ / ร้องเรียน ควรมีรายละเอียดให้ครบถ้วนตามที่กำหนด ดังนี้

  1. ควรป้อนข้อมูลเกี่ยวกับ ชื่อ – สกุล ที่อยู่ โทรศัพท์ และ อีเมล (e-mail ) ของผู้ส่งที่สามารถติดต่อได้ให้ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการติดต่อกลับ และ ยืนยันข้อมูลการร้องเรียน หรือ ข้อเท็จจริงเพิ่มเติมให้ชัดเจน สามารถดำเนินการต่อไปได้ เพื่อรายงานผลกลับไปยังท่านต่อไป
  2. สำหรับข้อมูลของท่านจะถูกเก็บเป็นความลับอย่างที่สุด
  3. กรณีที่ไม่เปิดเผยชื่อ – สกุลจริง ถือว่าเป็น บัตรสนเท่ห์” ซึ่งหากไม่ระบุพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริงได้ทางสถาบันฯ/มหาวิทยาลัยอาจไม่รับ หรือ ยกเรื่องร้องเรียนดังกล่าวขึ้นพิจารณาได้

การพิจารณาในการกำหนดชั้นความลับและคุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้อง

การพิจารณาในการกำหนดชั้นความลับ และคุ้มครองบุคคลที่เกี่ยวข้องนั้น จะต้องปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ. 2544  และการส่งเรื่องให้หน่วยงานพิจารณานั้น ผู้ให้ข้อมูล ผู้ร้องและผู้ถูกร้อง อาจจะได้รับความเดือดร้อน เช่น ข้อร้องเรียนกล่าวโทษ ในเบื้องต้นให้ถือว่าเป็นความลับทางราชการ การแจ้งเบาะแสผู้มีอิทธิพล ต้องปกปิดชื่อและที่อยู่ผู้ร้อง หากไม่ปกปิดชื่อ ที่อยู่ ผู้ร้องจะต้องแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และให้ความคุ้มครองแก่ผู้ร้องด้วย